Piboon Chomsombat

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์แห่งการเรียนรู้ของครูพิบูลย์

การวัดการกระจายของข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้

1. การวัดการกระจายสัมบูรณ์ ( absolute variation ) หมายถึง การวัดการกระจายของข้อมูลชุดเดียว เพื่อศึกษาว่าข้อมูลแต่ละค่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงไร การวัดการกระจายสัมบูรณ์ที่นิยมใช้มี 4 วิธี คือ

1.1 พิสัย (Range)

1.2 ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ (Quartile Deviation )

1.3 ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย ( Mean Deviation )

1.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation )

การวัดการกระจายสัมบูรณ์ในระดับนี้จะศึกษาเฉพาะพิสัยและส่วนเบี่บงเบนมาตรฐาน

พิสัย (Range ) คือ ค่าผลต่างระหว่างค่าสูงสุดของข้อมูลและค่าต่ำสุดของข้อมูล

1. พิสัยของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่

ตัวอย่างที่ จากข้อมูลต่อไปนี้ 2 , 16 ,15 ,14 , 9 , 8 , 12 , 25 จงหาพิสัย

วิธีทำ พิสัย = ค่าสูงสุด - ค่าต่ำสุด

= 25 - 2

พิสัย = 23

2. พิสัยของข้อมูลที่แจกแจงความถี่

ตัวอย่างที่ 2 ตารางต่อไปนี้ แสดงความสูงของนักเรียน ปวช.1/2 และ ปวช.1/5

จงหาพิสัยของความสูงของนักเรียน ปวช.1/2 และ ปวช.1/5

วิธีทำ พิสัย = ขอบบนของอัตรภาคชั้นที่มีค่าสูงสุด - ขอบล่างของอันตรภาคชั้นที่มีค่าต่ำสุด

= 181.5 - 161.5

= 20

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation )

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นการวัดการกระจายที่นำข้อมูลทุกค่ามาคำนวณเป็นวิธีที่นักสถิตินิยมใช้มากที่สุดและเป็นวิธีที่ใช้ในการวัดการกระจายได้ดีที่สุดสามารถไปใช้ในสถิติขั้นสูงต่อไป ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้สัญลักษณ์ S หรือ S.D.และความแปรปรวน (Variance)ใช้สัญลักษณ์

1. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่

ตัวอย่างที่ 3 จากข้อมูลต่อไปนี้ แสดงราคาส้มต่อกิโลกรัม จากร้านค้า 10 ร้าน ดังนี้

20 , 30 , 25 , 24 , 26 ,50 ,32 , 18 , 55 , 40

จงหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวนของราคาส้มต่อกิโลกรัม

วิธีทำ จากข้อมูลที่ให้มาจะเห็นว่าข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่จะ

Click for full-size image

จะได้ สูตรการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สูตรความแปรปรวน

ตัวอย่างที่ 4 จากตารางแจกแจงความถี่เกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการเดินทางจากที่พักมาวิทยาลัยของนักศึกษา

กลุ่มหนึ่งเป็นดังนี้

จงหาความแปรปรวนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

Click for full-size image
Click for full-size image
ข้อมูลที่อ้างอิงได้มาจาก http://www.bcbat.ac.th/teacher/lek/lekall/page20.html


ผู้จัดทำเว็บไซต์


ครูพิบูลย์ ชมสมบัติ

เข้าสู่ระบบการเรียนการสอน

Username : Password :
        * นักเรียนขอรหัสในการเข้าสู่ระบบได้ที่ครูพิบูลย์ 

เมนู

แปลงเลขฐาน 10 เป็นฐานใดๆ

to base

สถิติจำนวนผู้เยี่ยมชม

เริ่มนับสถิติวันที่ 26 พฤษภาคม 2563

counter free